วิธีทำให้อายุยืนยาว
ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส
วิธีทำให้อายุยืนยาว
ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส
สุดยอดปรารถนาของมนุษย์
คือ อายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง จิตใจแจ่มใส
ซึ่งสิ่งเหล่านี้แม้บางคนจะมีทรัพย์สินล้นพ้นก็ไม่อาจจะมีได้ดังที่ต้องการ
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
เมื่อร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยระบบต่างๆ
ทำงานประสานกันเช่นนี้การที่อวัยวะทุกส่วนของร่างกายจะทำงานประสานกันได้ดีตลอดไป
โดยที่ไม่มีโรค หรืออันตรายใดๆ เข้าไปเบียดเบียนให้ถึงความพิการ
ก็อยู่ที่เราผู้เป็นเจ้าของจะต้องคอยระวังป้องกัน ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกส่วนของอวัยวะได้เป็นไปตามปกติธรรมชาติ
ทั้งนี้เพื่อพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงและมีอายุยืนนาน
เท่าที่เราจะทำได้ อันนับเป็นยอดปรารถนาของทุกๆ คน แต่สิ่งดังกล่าวจะสำเร็จได้
ก็ต่อเมื่อเราได้ปฏิบัติตน ตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่ตามที่อารมณ์เราต้องการ
ดังแสดงไว้ดังนี้
1. เสร็จธุรกิจประจำวันแล้ว ให้สมองได้รับการพักผ่อนมากที่สุด ด้วยการอ่าน ดู ฟัง ที่ให้ความบันเทิง ขบขัน ด้วยการออกชมวิวทิวทัศน์ ด้วยการไม่คิด ไม่พูด เรื่องที่จะให้เกิดความโมโห กลัดกลุ้มเสียใจ หรือด้วยหามุมสงัด ทำสมาธิ โดยวิธีนั่งกำหนดลมหายใจเข้า-ออกอย่างลึกๆ ช้าๆ หรือเพ่งวัตถุที่มีสี เช่น สีแดง เป็นต้น ให้แน่วแน่จนเป็นกายวิเวก จิตวิเวก ยิ่งบังเกิดผลดี เพราะเป็นวิธีพักสมอง และบำรุงประสาทได้ดีนัก มีโอกาสอย่างไหนควรทำอย่างนั้น
2. รับประทานอาหาร ตามที่ได้แสดงไว้แล้ว ให้ตรงเวลา เคี้ยวให้ละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีล่วงไปแล้ว พยายามรักษาน้ำหนักตัวอย่าให้อ้วนมากนัก เพราะจะใกล้ต่ออันตรายด้วย โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และข้อสำคัญ คือ โรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดในหัวใจตีบตัน หรือเลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้เหตุที่เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารที่เป็นไขมันเข้าไปบ่อยๆ จนมีปริมาณมาก วัตถุที่เป็นไขมันจะเกาะผนังชั้นในของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ไขมันที่เกาะนี้ทางแพทย์เรียกว่า คอเลสเทอรอล เมื่อคอเลสเทอรอลเกาะมากๆ เข้า หลอดเลือดจะตีบตัน แล้วก็จะเป็นโรคหัวใจวาย หากรู้ตัวช้าเกินไป หรือแพทย์รักษาไม่ทัน อาจเป็นคนอายุสั้น คือ ถึงความตายได้อย่างปุ๊บ-ปั๊บ
ฉะนั้นผู้ที่มีอายุ 40 ไปแล้ว จึงควรระวังเรื่องการรับประทานอาหารเป็นกรณีพิเศษ (โดยเฉพาะ
ผู้ไม่ขัดข้องในเรื่องอาหาร) โดยพยายามรับประทานสิ่งดังต่อไปนี้ให้น้อยที่สุด
หรือไม่บ่อยครั้ง คือ ไขมันสัตว์ทุกชนิด ไข่แดง มันสมองวัว มันหมู หอยนางรม ตับหมู
วัว เป็ด ไก, ห่าน ม้าม เนยแข็ง
นมที่ยังไม่ได้สกัดเอาไขมันออก ซึ่งเป็นอาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูงมาก
และอาหารที่มีคอเลสเทอรอลต่ำรองลงมา คือ กะทิ น้ำมันมะพร้าว หนังไก่
เครื่องในสัตว์ ปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาเทโพ อาหารที่ปรุงจากไข่แดง
อาหารประเภทข้าว และแป้งจากพืชต่างๆ
น้ำตาล ควรรับประทานแต่พอประมาณ การรับประทานอาหารทุกครั้ง ควรรับประทานแต่พอดี
ไม่ให้อิ่มมากนัก และไม่ควรให้หิวมากแล้วจึงรับประทาน
3. ดื่มน้ำที่สะอาด
ให้ได้ปริมาณตามที่ร่างกายต้องการ หลับให้เพียงพอ
4. ได้สติเมื่อไร
ให้สูดอากาศบริสุทธิ์เข้าปอดให้ลึกที่สุด และเก็บไว้นานๆ พยายามทำวันละหลายๆ ครั้ง
อนึ่ง เวลาหายใจออก พยายามระบายลมปราณออกให้หมด จนท้องกลวง หากนั่งทำการหายใจเข้า-ออก ด้วยจิตใจเป็นสมาธิสักพักใหญ่ๆ ในการทำแต่ละครั้ง เมื่อทำไปนาน จะเกิดผลดีแก่ร่างกายมาก
อนึ่ง เวลาหายใจออก พยายามระบายลมปราณออกให้หมด จนท้องกลวง หากนั่งทำการหายใจเข้า-ออก ด้วยจิตใจเป็นสมาธิสักพักใหญ่ๆ ในการทำแต่ละครั้ง เมื่อทำไปนาน จะเกิดผลดีแก่ร่างกายมาก
6. อย่าใช้กำลังกาย กำลังสมอง
ทำงานหนักหรือคร่ำเคร่งเกินไป หรือปล่อยให้ร่างกายขาดความอบอุ่น
7. จงออกกำลังด้วยวิธีการต่างๆ
ไว้เสมอ สำหรับผู้ที่มีอายุ 50 ปี ล่วงไปแล้ว
หากมีปกติอยู่แต่ภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน
ประกอบกับการงานและการเงินไม่เอื้ออำนวยให้แสวงหาวิธีออกกำลังกายอย่างผู้มีเงินคนอื่น
ๆ ได้ตอนเช้าๆ หรือก่อนรับประทานอาหารเย็น ควรหาสถานที่เหมาะๆ ในบริเวณบ้าน แล้วบริหารร่างกายด้วยท่าประยุกต์เป็นดีที่สุด
โดยใช้เวลาประมาณวันละ 30 นาทีเป็นอย่างน้อย
(จนมีเหงื่อออกชุ่มตัว)
ท่าประยุกต์มีด้วยกันหลายสิบท่า แต่เมื่อสรุปแล้วได้หลักใหญ่ 3 หลัก คือ
ท่าประยุกต์มีด้วยกันหลายสิบท่า แต่เมื่อสรุปแล้วได้หลักใหญ่ 3 หลัก คือ
- ๑. นำกิริยาอาการของการเล่นกีฬาทุกชนิด
เท่าที่นึกได้
- ๒. นำกิริยาอาการ การเต้นของต่างชาติ –
ของไทย เท่าที่นึกได้
- ๓. นำกิริยาอาการ การร่ายรำของต่างชาติ –
ของไทย เท่าที่นึกได้
มารวมอยู่ในท่าบริหารนี้ทั้งสิ้น
ท่านจะเต้น จะซัดเท้าซัดมือจะโยกกายเยื้องย้าย จะรำท่าไหน จะหนักจะเบาช้าเร็ว
อย่างไรก็สุดแต่ว่า ขณะทำร่างกายส่วนไหนของท่านรู้สึกสบายมากด้วยท่าอะไร
หรือจะบริหารแบบโยคะก็ได้เมื่อบริหารแล้ว ก็ให้เดินไปมา
ก้าวเท้าตามแต่จะสบายพร้อมด้วยการหายใจลึกๆ นานๆ ขณะบริหาร
ทำใจให้แน่วแน่จดจ่ออยู่ที่กายด้วยการตั้งใจมั่น อธิษฐานให้ร่างกายมีสุขภาพสมบูรณ์
แข็งแรง มีอายุยืนนาน (ฉันทะ วิริยะ ฯลฯ ในอิทธิบาท 4 ซึ่งเป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ธรรมชาติได้ให้ไว้)
เสร็จแล้วให้นวดกล้ามเนื้อด้วยวิธีกลิ้งไปมาบนพื้น
หรือบนม้ายาว ยกเท้าขึ้นลง แกว่งซัดไปมาด้วยท่าต่างๆ
หรือหาวิธีนอนชูเท้าให้สูงขึ้นไว้นานๆ หรือขยำกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆ
ของร่างกายด้วยมือหากไม่เคยบริหารก็ค่อยทำค่อยไป
ด้วยวิธีนี้ท่านจะไม่เป็นคนปวดเมื่อย ร่างกายจะกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ
สุขภาพจะดีสมบูรณ์ไม่แก่เกินวัย
8. ในสัปดาห์หนึ่งๆ จงหาเวลา
ทำสิ่งที่จะให้สมองปลอดโปร่งจิตใจเบิกบาน เช่น ไปชมทิวทัศน์ธรรมชาติ
บำรุงบิดามารดา ท่านผู้มีพระคุณ อ่านหนังสือประเภทธรรมะ
ทำสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่รู้ว่าเป็นบุญเป็นกุศล
อันเป็นวิธีปลดจิตออกจากความทุกข์
9. การงานทุกชนิด
มีความสัมพันธ์กับร่างกาย เพราะเป็นที่มาของ ปัจจัยสี่
การทำจะต้องไม่ประมาทให้มีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ การงานบางอย่างและการแสดงออกบางอย่าง
ต้องทำด้วยการเอาใจเขามาใสใจเราเอาใจเราไปใส่ใจเขาจึงจะปลอดภัยได้มิตรมีความสุข
10. เมื่อรู้สึกว่า
ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายผิดปกติหรือทางแพทย์ประกาศให้ประชาชนไปตรวจสุขภาพ
ต้องรีบไปให้แพทย์ตรวจทันที
ผู้ที่เป็นแพทย์เล่า เมื่อผู้ป่วยไปหา ขออย่าได้นึกว่าไม่ใช่ญาติ เป็นต้น แล้วทำการตรวจรักษาอย่างขอไปทีตามหน้าที่ หรือตามจำนวนเงินที่เขาจะให้ได้ (ทั้งๆ ที่รู้เห็นแล้วว่าความเจ็บหรือโรคของผู้ป่วยร้ายแรง) หรือแสดงกิริยาข่มขู่ในลักษณะใดๆ ให้ผู้ป่วยน้อยใจ เจ็บใจ โดยถือว่าเขาต้องพึ่งตน หรือตนเลิศกว่าเขา แต่ขอให้นึกว่าการที่ตนตั้งหน้าเรียนวิชาแพทย์มา ก็เพื่ออุทิศเวลารับภาระของชาติของสังคมมนุษย์มีหน้าที่ช่วยรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์โดยมิได้เลือกหน้า
หากคิดว่าที่ตนเรียนวิชาแพทย์มาโดยใจจริงเพื่อยึดเป็นช่องทางแสวงหาความร่ำรวยจากผู้ป่วย
เหมือนพ่อค้าร่ำรวยจากการค้า ความคิดของแพทย์ผู้นั้น
ก็ไม่ผิดกับผู้ที่บวชในวงศ์ของสมณะแล้วตั้งหน้าสะสมแต่เงินและสมบัติที่ได้รับจากผู้ให้ในทางนั้นๆ
เช่น จากการดูหมอ การสวดมนต์ การทำรูปปั้นรูปหล่อรูปพระขาย ฯลฯ
แทนการปฏิบัติตนเพื่อความสะอาด สว่าง บริสุทธิ์ ขลัง และศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งเป็นภาวะและพฤติกรรมที่ไร้สาระอย่างน่าเสียดาย
ฉะนั้น เมื่อได้ชื่อว่าเป็นแพทย์
และเลี้ยงชีวิตด้วยวิชาการแขนงนี้แล้ว
ขอได้กรุณาให้การตรวจและรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่อย่างละเอียดถี่ถ้วนจนสุดความรู้ความสามารถทุกๆ
รายไป ด้วยสติ และจิตใจที่เปี่ยมด้วยการุณยธรรม ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะและสภาพเป็นอย่างไร
ให้เหมือนพ่อแม่ ตรวจรักษาโรคให้ลูก พี่ตรวจรักษาโรคให้น้อง เป็นต้น
ที่มา : http://www.healthcarethai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น